Main navigation
สุขินทรีย์
Share:

(๑) ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน

ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย เวทนาอันเป็นสุขสำราญ เกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า สุขินทรีย์

(๒) เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีความเด็ดเดี่ยว สุขินทรีย์เกิดขึ้น

เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า สุขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และสุขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย จะอนุมานเอาว่า สุขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิตไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้

เธอย่อมรู้ชัดสุขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งสุขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว

ก็สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้

 

 
อ้างอิง :
(๑) วิภังคสุตรที่ ๑ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๙๒๖ หน้า ๒๓๐
(๒) อุปปฏิกสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๙๕๙ หน้า ๒๓๕

คำต่อไป