Main navigation
สติสัมปชัญญะ
Share:

(๑) บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติ-สัมปชัญญะเมื่อ ทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง 

(๒) ผลแห่งสติ-สัมปชัญญะ

เมื่อสติ-สัมปชัญญะมีอยู่ หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ

เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ

เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร

เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ 

ผลแห่งการไม่มีสติ-สัมปชัญญะ

เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสติและสัมปชัญญะวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีศีลวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติกำจัดเสียแล้ว 

 
อ้างอิง:  
(๑) สามัญญผลสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๙ ข้อที่ [๑๒๓] 
(๒) สติสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ [๑๘๗] 

คำต่อไป