Main navigation
สิกขา ๓
Share:

(๑) สิกขา ๓ (ไตรสิกขา) เป็นไฉน คือ

อธิศีลสิกขา ๑
อธิจิตตสิกขา ๑
อธิปัญญาสิกขา ๑

(๒) กิจของสมณะที่สมณะควรทำ ๓ อย่างนี้ คือ

การสมาทานอธิศีลสิกขา ๑
การสมาทานอธิจิตตสิกขา ๑
การสมาทานอธิปัญญาสิกขา ๑

เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

(๓) ภิกษุควรพอใจในการสมาทานอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

(๔) กิจที่ควรทำก่อนของภิกษุคือ การสมาทานอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

(๕) สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วน สามารถจะศึกษาในสิกขา ๓

เมื่อท่านศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขาก็ดี อธิปัญญาสิกขาก็ดี เมื่อนั้น เมื่อท่านละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ ท่านจักไม่กระทำกรรมเป็นอกุศล จักไม่เสพกรรมที่เป็นบาป

ภิกษุนั้นศึกษาแล้วทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา ทั้งอธิปัญญาสิกขา ละราคะโทสะ โมหะ ได้แล้ว เธอมิได้ทำกรรมที่เป็นอกุศล มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป

(๖) สิกขาบท ๕ อย่าง

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี       [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์]
๒. อทินนาทานา เวรมณี       [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์]
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี      [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม]
๔. มุสาวาทา เวรมณี         [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ]
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี    [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท] 

 

อ้างอิง:
(๑) สิกขาสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ ข้อที่ ๕๒๙ หน้า ๒๒๔
(๒) สมณสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ ข้อที่ ๕๒๑ หน้า ๒๑๘
(๓) คัทรภสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ ข้อที่ ๕๒๒ หน้า ๒๑๘
(๔) เขตตสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ ข้อที่ ๕๒๓ หน้า ๒๑๙
(๕) วัชชีปุตตสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ ข้อที่ ๕๒๔ หน้า ๒๑๙-๒๑๐
(๖) สังคีติสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ ข้อที่ ๒๘๖ หน้า ๑๙๖

คำต่อไป