Main navigation
วิปัสสนา
Share:

(๑) วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น


(๒) การเจริญสมถะวิปัสสนา

ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญ วิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญ สมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญ สมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจ นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น

เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง

เจริญวิปัสสนา มี สมถะ เป็นเบื้องต้นอย่างไร

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยเนกขัมมะ เป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยความไม่พยาบาท เป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอาโลกสัญญา เป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ด้วยเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง

เจริญ สมถะ มีวิปัสสนา เป็นเบื้องต้นอย่างไร

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ธรรมารมณ์ ชรา และมรณะ โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

เจริญ สมถะ และวิปัสสนา คู่กันไปอย่างไร

ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ

ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑
ด้วยความเป็นโคจร ๑
ด้วยความละ ๑
ด้วยความสละ ๑
ด้วยความออก ๑
ด้วยความหลีกไป ๑
ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑
ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑
ด้วยความหลุดพ้น ๑
ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑
ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑
ด้วยความไม่มีนิมิต ๑
ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑
ด้วยความว่างเปล่า ๑
ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน  ๑
ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑
ด้วยความเป็นคู่กัน ๑

เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันไป ด้วยอารมณ์อย่างไร

ละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์

ละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นอารมณ์      

สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์

เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันไป ด้วยความเป็นโคจรอย่างไร

ละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร

ละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร

สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นโคจร

เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันไป ด้วยความละอย่างไร

ละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร

ละกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร

สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความละ

เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันไป ด้วยความสละอย่างไร

สละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร

สละกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร

สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความสละ

เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันไป ด้วยความออกอย่างไร

ออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร

ออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร

สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกันเป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความออก

เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันไป ด้วยความหลีกไปอย่างไร

หลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร

หลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร

สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกันเป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลีกไป

เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันไป ด้วยความเป็นธรรมละเอียดอย่างไร

ละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมละเอียดมีนิโรธเป็นโคจร

ละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร

สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด

เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันไป ด้วยความเป็นธรรมประณีตอย่างไร

ละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน  เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร

เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร

สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต

เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันไป ด้วยความหลุดพ้นอย่างไร

ละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร

ละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร ชื่อว่าเจโตวิมุติเพราะสำรอกราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุติเพราะสำรอกอวิชชา

สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลุดพ้น

เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันไป ด้วยความไม่มีอาสวะอย่างไร

ละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร

ละอวิชชาวิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร

สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีอาสวะ

เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันไป ด้วยความเป็นเครื่องข้ามอย่างไร

ข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร

ข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร

สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม

เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันไป ด้วยความไม่มีนิมิต อย่างไร

ละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร

ละอวิชชาวิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร

สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีนิมิต

เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันไป ด้วยความไม่มีที่ตั้ง อย่างไร

ละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร

ละอวิชชา วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร

สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง

เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันไป ด้วยความว่างเปล่า อย่างไร

ละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร

ละอวิชชา วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร

สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า


เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างไร

ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค

ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค

ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ส่วนละเอียด ๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค

ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตมรรค ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้


การวิปัสสนาในรูปฌาณ ๔

ปฐมฌาน

(๓) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ปฐมฌานนี้ มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

เธอตั้งอยู่ในธรรมคือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา

(๔) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุปฐมฌาน ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น 

ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ทุติยฌาน

(๕) ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ทุติยฌานนี้ มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรมคือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา

(๖) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งทุติยฌานโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น 

ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ

ตติยฌาน

(๗) ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ตติยฌานนี้ มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

(๘) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุตติยฌาน ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งตติยฌานโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น 

ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในตติยฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

จตุตฌาน

(๙) ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้จตุตฌานนี้ มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

ธอตั้งอยู่ในธรรมคือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา

(๑๐) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตฌาน ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งจตตุฌานโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น 

ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ

การวิปัสสนาในพรหมวิหาร ๔

เมตตา

ภิกษุมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้เมตตาเจโตวิมุตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

เธอตั้งอยู่ในเมตตาเจโตวิมุตินั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

กรุณา

ภิกษุมีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยกรุณา อันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้กรุณาเจโตวิมุตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

มุทิตา

ภิกษุมีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยมุทิตา อันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้มุทิตาเจโตวิมุตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

อุเบกขา

ภิกษุมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อุเบกขาเจโตวิมุตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

การวิปัสสนาในอรูปฌาณ ๓

อากาสานัญจายตนฌาณ 

(๑๑)  ภิกษุเข้าถึง ชั้นอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่
เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อากาสานัญจายตนสมาบัตินี้อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้
เธอตั้งอยู่ในธรรมคือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

(๑๒) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนะฌาณ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสานัญจายตนฌานโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น 

ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

วิญญาณัญจายตนฌาณ

(๑๓) ภิกษุเข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงอยู่

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่าแม้วิญญาณัญจายตนะสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

เธอตั้งอยู่ในธรรมคือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

(๑๔) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งวิญญาณัญจายตนฌานโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น 

ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น

อากิญจัญญายตนฌาณ 

(๑๕) ภิกษุ บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร (สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี) เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

เธอตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

(๑๔) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น 

ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ


(๑๖) ผู้ฉลาดในการเจริญวิปัสสนา

ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เป็นไฉน  เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เป็นไฉน

ปุถุชนเจริญวิปัสสนา
ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ๑
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ๑
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป ๑
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป ๑
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรปรวน ๑
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยั่งยืน ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพหานิมิตมิได้ ๑
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง ๑
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีที่ตั้ง ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพสูญ ๑
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น ๑

ปุถุชนเจริญวิปัสสนาย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เหล่านี้

พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน

พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อม เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ

ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ 
เป็น ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรปรวน ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยั่งยืน ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพหานิมิตมิได้ ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีที่ตั้ง ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพสูญ ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ๑
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณ ๑

พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้

ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เป็นไฉน เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เป็นไฉน

ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรปรวน ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยั่งยืน ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพหานิมิตมิได้ ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีที่ตั้ง ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพสูญ ๑ 
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ๑
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณ ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เกี่ยวข้อง ๑
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเกี่ยวข้อง ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ ๑
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสังขาร ๑

ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย อาการ ๑๒ เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เหล่านี้


อ่าน สมถะวิปัสสนาสัมพันธ์
 

 

อ้างอิง:  
(๑) ธรรมสังคณี พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๔ ข้อที่ ๖๙ หน้า ๓๖
(๒) ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๕๓๔-๕๔๑ หน้า ๒๔๕-๒๕๒
(๓) อัฏฐกนาครสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๒๐ หน้า ๑๔-๑๕
(๔) ฌาณสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๒๔๐ หน้า ๓๔๑-๓๔๒
(๕)  อัฏฐกนาครสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๒๐ หน้า ๑๕
(๖) ฌาณสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๒๔๐ หน้า ๓๔๒
(๗)  อัฏฐกนาครสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๒๐-๒๑ หน้า ๑๕-๑๙
(๘) ฌาณสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๒๔๐ หน้า ๓๔๑-๓๔๒
(๙)  อัฏฐกนาครสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๒๐ หน้า ๑๖
(๑๐) ฌาณสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๒๔๐ หน้า ๓๔๒-๓๔๓
(๑๑) อัฏฐกนาครสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๒๒ หน้า ๑๙
(๑๒) ฌาณสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๒๔๐ หน้า ๓๔๓-๓๔๔
(๑๓) อัฏฐกนาครสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๒๒ หน้า ๑๙-๒๐
(๑๔) ฌาณสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๒๔๐ หน้า ๓๔๔
(๑๕) อัฏฐกนาครสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๒๒ หน้า ๒๐
(๑๖) ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๔ ข้อที่ ๔๖๒ หน้า ๑๙๒-๑๙๓

คำต่อไป