Main navigation

วิธีภาวนา - (ดูทั้งหมด)

พุทธวิธีการอยู่ป่าอย่างปลอดภัย I ภยเภรวสูตร

พุทธวิธีปฏิบัติธรรม
พุทธวิธีการอยู่ป่าอย่างปลอดภัย
ภยเภรวสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๒๗-๕๒ หน้า ๒๓-๓๑

ข้อแนะนำในการปฏิบัติ
ก่อนจะฟัง
พึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง
เมื่อได้สมาธิดีแล้ว
ฟังพุทโธวาท และน้อมธรรมมาสู่ใจ
น้อมใจปฏิบัติตามพุทโธวาทตรง ๆ
ให้เข้าใจแจ้ง และได้สภาวะจิตดีจริง
เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง

เสียง : 4:03 นาที
ปฏิบัติ : 10 นาที

----------------

เสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว ยากที่จะเป็นอยู่ได้ ในภาวะที่โดดเดี่ยว ความสงัดกาย ยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีได้ ป่าทั้งหลายประหนึ่งจะชักพาใจของพระภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิไปเสีย

เหตุแห่งความสะดุ้งกลัว เมื่ออยู่เสนาสนะอันสงัด  ๑๖ ประการ คือ

มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์
มีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์
มีมโนกรรมไม่บริสุทธิ์
มีการเลี้ยงชีพไม่บริสุทธิ์
มีปกติเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตพยาบาท  มีความดำริชั่วร้าย ปราศจากเมตตา
ถูกถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) กลุ้มรุม
เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบ
เป็นผู้เคลือบแคลงสงสัย
เป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น
เป็นผู้สะดุ้งกลัวและมักขลาด
เป็นผู้ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญ
เป็นผู้เกียจคร้าน ปราศจากความเพียร
เป็นผู้ขาดสติสัมปชัญญะ
มีจิตไม่ตั้งมั่น ดิ้นรนกวัดแกว่ง
เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา

บุคคลย่อมมีความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน

บุคคลผู้เห็นชัดซึ่งความเป็นผู้มีกายกรรมอันบริสุทธิ์... มีวจีกรรมบริสุทธิ์... มีมโนกรรมบริสุทธิ์... มีอาชีวะบริสุทธิ์... เป็นผู้ไม่มีความอยากได้... มีจิตประกอบด้วยเมตตา... มีจิตปราศจากถีนมิทธะ... มีจิตสงบระงับ... เป็นผู้ข้ามความสงสัย... ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น... ปราศจากความหวาดกลัว... มีความปรารถนาน้อย... ปรารภความเพียร... มีสติตั้งมั่น... ถึงพร้อมด้วยสมาธิ... ถึงพร้อมด้วยปัญญา... นี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้ปลอดภัยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า

 

ฟังพระสูตรเต็ม ภยเภรวสูตร

พระสูตร
ภยเภรวสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๒๗-๕๒ หน้า ๒๓-๓๑