Main navigation
มานะ
Share:

(๑) มานะ คือ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต หนึ่งใน อุปกิเลส ๑๖  

(๒) มานะคือ ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา ความถือตัวว่า เราเสมอเขา ความถือตัวว่า เราเลวกว่าเขา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว  ความใฝ่สูง ความฟูขึ้น ความทะนงตัว ความยกตัว ความที่จิตใฝ่สูงดุจธง

(๓) ความเป็นผู้ถือตัว ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น มานะดังว่าธงไชย มานะอันประคองจิตไว้ ความที่จิตใคร่ดังว่าธงยอดเห็นปานนี้ 

(๔) ความถือตัว กิริยาที่ถือตัวความเป็นผู้ถือตัว ความพองจิต ความมีมานะดังว่าไม้อ้อสูง มานะดังธงไชย มานะ อันเป็นเหตุให้ยกย่อง ความที่มีจิตใคร่ดังธงนำหน้า นี้ท่านกล่าวว่า ความถือตัว

(๓) พึงกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา

ญาตปริญญาเป็นไฉน
-  นรชนย่อมรู้จักมานะ คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่านี้เป็นมานะอย่างหนึ่ง นี้เป็นมานะ ๑๐ อย่าง

ตีรณปริญญาเป็นไฉน
- นรชนรู้อย่างนี้แล้วย่อมพิจารณามานะโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยอุบายเป็นเครื่องสลัดทุกข์

ปหานปริญญาเป็นไฉน
- นรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งมานะ

(๓) มานะแต่ละอย่าง

มานะอย่างหนึ่ง ได้แก่ ความฟูขึ้นแห่งจิต

มานะ ๒ อย่าง ได้แก่
- มานะในความยกตน ๑
- มานะในความข่มผู้อื่น ๑

มานะ ๓ อย่าง ได้แก่
-  มานะว่าเราดีกว่าเขา ๑
-  มานะว่าเราเสมอเขา ๑
-  มานะว่า เราเลวกว่าเขา ๑.

มานะ ๔ อย่าง ได้แก่
-  บุคคลให้มานะเกิดเพราะลาภ ๑
-  เพราะยศ ๑
-  เพราะสรรเสริญ ๑
-  เพราะสุข ๑

มานะ ๕ อย่าง ได้แก่
-  บุคคลให้มานะเกิดว่า เราได้รูปที่ชอบใจ ๑
-  เราได้เสียงที่ชอบใจ ๑
-  ได้กลิ่นที่ชอบใจ ๑
-  ได้รสที่ชอบใจ ๑
-  ได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑

มานะ ๖ อย่าง ได้แก่
-  บุคคลให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจักษุ ๑ 
-  ถึงพร้อมแห่งหู ๑
-  ถึงพร้อมแห่งจมูก ๑ 
-  ถึงพร้อมแห่งลิ้น ๑
-  ถึงพร้อมแห่งกาย ๑
-  ให้ถึงพร้อมแห่งใจ ๑

มานะ ๗ อย่าง
-  ได้แก่ความถือตัว ๑
-  ความดูหมิ่น ๑
-  ความถือตัวและความดูหมิ่น ๑
-  ความถือตัวต่ำ ๑
-  ความถือตัวสูง ๑
-  ความถือตัวว่าเรามั่งมี ๑
-  ความถือตัวผิด ๑

มานะ ๘ อย่าง ได้แก่
-  บุคคลให้ความถือตัวเกิดเพราะลาภ ๑
-  ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑
-  ให้ความถือตัวเกิดเพราะยศ ๑
-  ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑
-  ให้ความถือตัวเกิดเพราะความสรรเสริญ ๑
-  ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความนินทา ๑
-  ให้ความถือตัวเกิดเพราะสุข ๑
-  ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะทุกข์ ๑

มานะ ๙ อย่าง ได้แก่ มานะว่า
-  เราดีกว่าคนที่ดี ๑
-  เราเสมอกับคนที่ดี ๑
-  เราเลวกว่าคนที่ดี ๑ 
-  เราดีกว่าผู้เสมอกัน ๑
-  เราเสมอกับผู้เสมอกัน ๑
-  เราเสมอกับผู้เลว ๑
-  เราดีกว่าผู้เลว ๑
-  เราเสมอกับผู้เลว ๑
-  เราเลวกว่าผู้เลว

(๔) มานะ ๑๐ อย่าง ได้แก่

-  บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ความถือตัวเกิดขึ้นเพราะกำเนิดบ้าง เพราะโคตรบ้าง เพราะความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง
-  เพราะความเป็นผู้มีผิวพรรณงามบ้าง
-  เพราะทรัพย์บ้าง
-  เพราะความเชื้อเชิญบ้าง
-  เพราะบ่อเกิดแห่งการงานบ้าง
-  เพราะบ่อเกิดแห่งศิลปะบ้าง
-  เพราะฐานแห่งวิชชาบ้าง
-  เพราะการศึกษาเล่าเรียนบ้าง
-  เพราะปฏิภาณบ้าง
-  เพราะวัตถุอื่นบ้าง

 

 
อ้างอิง: 
(๑)  วัตถูปมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๙๓ หน้า ๔๘
(๒)  มหานิทเทส พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๙ ข้อที่ ๘๐๙ หน้า ๓๙๓
(๓)  มหานิทเทส พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๙ ข้อที่ ๘๒๙ หน้า ๔๐๕- ๔๐๗
(๔) โสฬสมาณวกปัญหานิทเทส พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๐ ข้อที่ ๕๗๘ หน้า ๒๒๒
 

 

คำต่อไป