Main navigation

วิตักกสัณฐานสูตร

ว่าด้วย
การละวิตก
เหตุการณ์
พระพุทธเจ้าแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเรื่องการละวิตก

พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายถึงการหมั่นประกอบอธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร

เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง เกิดขึ้น การละวิตกอันเป็นบาปอกุศลมี ๕ ประการ

1. ให้มนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล - เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน

2. พิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้น - เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน

3. ถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น - เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน

4. มนสิการสัณฐานแห่งวิตก สังขารของวิตกเหล่านั้น  - เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้น

5. กัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ - เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้น

ภิกษุเป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เมื่อจะนึกถึงวิตกใด ก็ตรึกวิตกนั้นได้ จะไม่นึกถึงวิตกใด ก็ไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้ คลี่คลายสังโยชน์ได้ ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ




อ่าน วิตักกสัณฐานสูตร
 

อ้างอิง
วิตักกสัณฐานสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๒๕๖-๒๖๒ หน้า ๑๖๖ - ๑๗๐
ลำดับที่
4

สถานที่

ไม่ระบุ

สถานการณ์

การปฏิบัติธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม