Main navigation

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ว่าด้วย
(มหาสติปัฏฐานสูตร)
เหตุการณ์
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงมหาสติปัฏฐาน ๔ แก่ชาวกุรุ - จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอย่างไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

- จิตมีราคะ หรือ ปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ หรือ ปราศจากราคะ
- จิตมีโทสะ หรือ ปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ หรือ ปราศจากโทสะ
- จิตมีโมหะ หรือ ปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ หรือ ปราศจากโมหะ
- จิตหดหู่ หรือ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ หรือ จิตฟุ้งซ่าน
- จิตเป็นมหรคต หรือ ไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต หรือ ไม่เป็นมหรคต
- จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือ ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือ ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
- จิตเป็นสมาธิ หรือ ไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสมาธิ หรือ ไม่เป็นสมาธิ
- จิตหลุดพ้น หรือ ไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น หรือ ไม่หลุดพ้น

ดังพรรณามาฉะนี้

- ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง     
- พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง    
- พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง     
- พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง   
- พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง    
- พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง

สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

อย่างนี้แล ชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่

 

อ่าน มหาสติปัฏฐานสูตร

อ้างอิง
มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๒๘๙ หน้า ๒๒๒
ลำดับที่
28

สถานที่

แคว้นกุรุ

สถานการณ์

การปฏิบัติธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรมวินัย

ธรรมวินัย