Main navigation

โจทนาสูตร

ว่าด้วย
คุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจทก์
เหตุการณ์
พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเรื่องการโจทก์ภิกษุอื่น

 

พระสารีบุตรกล่าวว่าภิกษุผู้โจทก์ทั้งหลายพึงตั้งธรรม ๕ ประการ คือ

โจทก์โดยกาลควร หรือโดยกาลไม่ควร ๑
ด้วยเรื่องจริง หรือด้วยเรื่องไม่จริง ๑ 
ด้วยคำอ่อนหวาน หรือด้วยคำหยาบ ๑
ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ หรือด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑  
ด้วยเมตตาจิตหรือด้วยเพ่งโทษ ๑

หากภิกษุถูกโจทก์โดยไม่เป็นธรรมด้วยอาการ ๕ คือ โดยกาลไม่ควร ด้วยเรื่องไม่จริง ด้วยคำหยาบ ด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ภิกษุผู้ถูกโจทก์โดยไม่เป็นธรรมไม่ควรเดือดร้อน ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรมควรเดือดร้อน

หากภิกษุถูกโจทก์โดยเป็นธรรมด้วยอาการ ๕ คือ โดยกาลควร ด้วยเรื่องจริง ด้วยคำอ่อนหวาน ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ด้วยเมตตาจิต ภิกษุผู้ถูกโจทก์โดยเป็นธรรมจึงควรเดือดร้อน ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรมไม่ควรเดือดร้อน

บุคคลผู้ถูกโจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริงและความไม่โกรธ และพึงทราบว่าธรรม ๕ ประการ ที่ถูกโจทก์มีอยู่ในตนหรือไม่ หากมีธรรมนั้นอยู่ในตน ก็ตอบว่ามี หากไม่มีธรรมนั้นอยู่ในตน ก็ตอบว่าไม่มี

พระผู้มีพระภาคตรัสกับพระสารีบุตรว่า เป็นเช่นนั้น แต่ว่าโมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ (ผู้ไม่มีศรัทธา) เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับโดยเคารพ จงยกไว้ (ยกเว้น) ไม่กล่าวสอน แต่จงกล่าวสอนกุลบุตรผู้มีศรัทธาออกบวช มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย เพื่อยกเพื่อนพรหมจรรย์จากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม
 



อ่าน โจทนาสูตร

 

อ้างอิง
โจทนาสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๑๖๗ หน้า ๑๗๕-๑๗๘
ลำดับที่
7

สถานที่

ไม่ระบุ

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ