Main navigation

อิ่มเอิบเพราะไม่ยึดมั่น

เหตุการณ์
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารเชตวัน นครสาวิตถี อนาถบิณฑิกเศรษฐีซึ่งเป็นไข้อยู่นิมนต์พระสารีบุตรไปยังบ้านของตน พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี หลังจากนั้นไม่นานอนาถบิณฑิกเศรษฐีเสียชีวิต

พระสารีบุตรให้โอวาทซึ่งเป็นธรรมที่แจ่มแจ้งแก่บรรพชิตแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้เป็นคฤหัสน์นุ่งผ้าขาว ดังนี้

(๑) เราจักไม่ยึดมั่นอายตนะภายใน ๖ คือ จักษุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย และมโน และวิญญาณที่อาศัยอายตนะภายใน ๖ เหล่านั้น จักไม่มีแก่เรา

(๒) เราจักไม่ยึดมั่นอายตนะภายนอก ๖ คือ รูป รส เสียง กลิ่น สัมผัส และธรรมารมณ์ และวิญญาณที่อาศัยอายตนะภายนอก ๖ เหล่านั้น จักไม่มีแก่เรา

(๓) เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณ ๖ คือ จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยวิญญาณ ๖ เหล่านั้น จักไม่มีแก่เรา

(๔) เราจักไม่ยึดมั่นสัมผัส ๖ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส และ มโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยสัมผัส ๖ เหล่านั้น จักไม่มีแก่เรา

(๕) เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่เกิดจากผัสสะ ๖ และวิญญาณที่อาศัยเวทนาที่เกิดจากผัสสะ ๖ เหล่านั้น จักไม่มีแก่เรา

(๖) เราจักไม่ยึดมั่นปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ และ อากาสธาตุ และวิญญาณที่อาศัยธาตุเหล่านั้น จักไม่มีแก่เรา

(๗) เราจักไม่ยึดมั่นขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยขันธ์ ๕ เหล่านั้น จักไม่มีแก่เรา

(๘) เราจักไม่ยึดมั่นอรูปฌาน ๔ คือ อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยอรูปฌาณ ๔ เหล่านั้น จักไม่มีแก่เรา

(๙) เราจักไม่ยึดมั่นโลกนี้ และโลกหน้า และวิญญาณที่อาศัยโลกนี้และโลกหน้านั้น จักไม่มีแก่เรา

(๑๐) เราจักไม่ยึดมั่นอารมณ์ที่ได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้แสวงหา ได้พิจารณาด้วยใจ และวิญญาณที่อาศัยอารมณ์เหล่านั้น จักไม่มีแก่เรา

เพื่อดับวิญญาณที่อาศัย ๑๐ ข้อเหล่านี้ 

เมื่ออนาถบิณฑิกเศรษฐีสิ้นแล้ว อนาถบิณฑิกเทพบุตรเสด็จไปเวหารเชตุวันแล้วตรัสกับพระพุทธเจ้าว่า พระวิหารเชตวันนี้มีประโยชน์เพราะได้เป็นที่พักอาศัยให้แก่สงฆ์ และมีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ยังให้เกิดปีติแก่ตัวท่านอนาถบิณฑิก และกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้ คือ กรรม วิชชา ธรรม ศีล ชีวิตอุดม ไม่ใช่ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์ เมื่อบัณฑิตเห็นประโยชน์เช่นนี้แล้ว จะเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะบริสุทธิ์ในธรรมได้ด้วยประการนี้

อนาถบิณฑิกเทพบุตรได้กล่าวสรรเสริญพระสารีบุตรว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ ภิกษุผู้ถึงความบริสุทธิ์แล้วจะดียิ่งก็ต้องเป็นเช่นพระสารีบุตร


 

 

อ่าน อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
 

อ้างอิง
อนาถปิณฑิโกวาทสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๗๒๐-๗๔๐ หน้าที่ ๓๔๘-๓๕๕
ชุดที่
ลำดับที่
26

สถานที่

วิหารเชตวัน

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม