Main navigation

มูคผักขจริยา

ว่าด้วย
พระจริยาวัตรของมูคผักขกุมาร
เหตุการณ์
การบำเพ็ญอธิษฐานบารมีของพระโพธิสัตว์เมื่อทรงเป็นเตมิยกุมาร

เมื่อพระโพธิสัตว์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากาสี ชนทั้งหลายเรียกท่านว่า มูคผักขกุมารบ้าง เตมิยกุมารบ้าง

ในเวลานั้น พระสนมนางในหมื่นหกพัน ไม่มีพระราชโอรส พระบิดารับสั่งให้ตั้งเศวตฉัตร เลี้ยงดูท่าน เมื่อพระโพธิสัตว์ได้เห็นเศวตฉัตรอันเป็นเหตุให้ไปสู่นรก ความสะดุ้งหวาดกลัวเกิดขึ้นพร้อมกับที่ได้เห็นฉัตร ถึงความวินิจฉัยว่า เมื่อไรจึงจะเปลื้องธุลีนี้ได้

เทพธิดาผู้เป็นสาโลหิตมาก่อน เห็นท่านประกอบไปด้วยทุกข์ จึงแนะนำให้ประกอบเหตุ ๓ ประการว่า จงอย่าแสดงความเป็นบัณฑิต จงแสดงความเป็นคนโง่แก่ชนทั้งปวง ชนทั้งหมดก็จะดูหมิ่นท่าน ประโยชน์จักมีแก่ท่าน พระโพธิสัตว์ร่าเริงดีใจ ได้อธิษฐานองค์ ๓ ประการ คือ เป็นคนใบ้ เป็นคนหูหนวก เป็นคนง่อยเปลี้ยเว้นจากคติ ทรงอธิษฐานองค์ ๓ ประการนี้อยู่ ๑๖ ปี

ครั้งนั้น เสนาบดีตรวจดูมือเท้า ลิ้น และช่องหูของพระโพธิสัตว์แล้ว เห็นความไม่บกพร่อง ติเตียนว่าเป็นคนกาฬกิณี ชาวชนบท เสนาบดี และปุโรหิตทั้งปวงดีใจการที่รับสั่งให้นำไปทิ้ง พระโพธิสัตว์ได้ฟังความประสงค์ของเสนาบดีแล้ว ร่าเริงดีใจว่า ท่านประพฤติตบะมาเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นจะสำเร็จ

ราชบุรุษทั้งหลายอาบน้ำให้พระโพธิสัตว์ ไล้ทาด้วยของหอม สวมราชมงกุฏราชาภิเษกแล้ว มีฉัตรที่บุคคลถือไว้ให้ ทำประทักษิณพระนคร ดำรงเศวตฉัตรอยู่ ๗ วัน พอดวงอาทิตย์ขึ้นนายสารถีอุ้มพระโพธิสัตว์ขึ้นรถเข้าไปยังป่า นายสารถีหยุดรถขุดหลุมเพื่อจะฝังพระโพธิสัตว์ไว้ในแผ่นดิน

พระบิดาทรงคุกคามการอธิษฐานที่ทรงอธิษฐานไว้ด้วยเหตุต่าง ๆ แต่ท่านก็ไม่ทำลายการอธิษฐานนั้นเพราะเหตุแห่งโพธิญาณ จะทรงเกลียดพระมารดาพระบิดาก็หามิได้ จะเกลียดตนเองก็หามิได้ แต่พระสัญพัญญุตญาณเป็นที่รักของท่าน เพราะฉะนั้น จึงอธิษฐานองค์ ๓ ประการ อยู่ ๑๖ ปี ผู้เสมอด้วยอธิษฐานของท่านไม่มี นี่เป็นอธิษฐานบารมีของท่าน

 

 

อ่าน มูคผักขจริยา

อ้างอิง
มูคผักขจริยา พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๓ ข้อที่ ๒๖ หน้า ๓๙๗-๓๙๙
ชุดที่
ลำดับที่
33

สถานที่

ไม่ระบุ

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ