Main navigation

กิมิลสูตร

ว่าด้วย
การเจริญอานาปานสติสมาธิ
เหตุการณ์
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่พระกิมิละว่า สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

พระผู้มีพระภาคตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก 

สมัยใดภิกษุเมื่อ
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก  
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก  
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า

สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เพราะกายอันหนึ่งในบรรดากายทั้งหลายได้แก่ ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า

สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
เราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า

สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เพราะเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลายได้แก่ การกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่งลมหายใจออก และลมหายใจเข้า

สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า
เราจักกำหนดรู้จิต หายใจออก  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิต หายใจเข้า
เราจักทำจิตให้บันเทิง หายใจออก  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิง หายใจเข้า
เราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
เราจักเปลื้องจิต หายใจออก  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า

สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เพราะทรงไม่กล่าวซึ่งการเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ สำหรับผู้มีสติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ

สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า
เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า
เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจเข้า
เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับ หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับ หายใจเข้า
เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืน หายใจเข้า

สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้เป็นอย่างดี

สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก



อ่าน กิมิลสูตร
 

อ้างอิง
กิมิลสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๑๓๕๕-๑๓๖๒ หน้า ๓๒๘-๓๓๐
ลำดับที่
8

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม