Main navigation

สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๓

ว่าด้วย
การพูดเกี้ยวหญิง
เหตุการณ์
เหตุเป็นเค้ามูลให้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วย การพูดเกี้ยวหญิง

พระอุทายีพูดเกี้ยวมาตุคาม ด้วยวาจาการพูดชมบ้าง ติบ้าง ขอบ้าง อ้อนวอนบ้าง ถามบ้าง ย้อนถามบ้าง บอกบ้าง สอนบ้าง ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก ทวารเบาของสตรีเหล่านั้น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่อง จึงติเตียนว่าการกระทำนั้นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว

แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ

เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑  เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑  เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑  เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑  เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑  เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑  เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑  เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ว่าดังนี้

ภิกษุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว พูดเกี้ยวมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ เหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว ด้วยวาจาพาดพิงเมถุน เป็นสังฆาทิเสส



อ่าน สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓

 

อ้างอิง
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑​ ข้อที่ ๓๙๗ หน้า ๕๒๗-๕๒๙
ลำดับที่
9

สถานที่

วิหารเชตวัน

อารมณ์

กามกำเริบ

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรมวินัย

ธรรมวินัย