Main navigation

อินทริยภาวนาสูตร

ว่าด้วย
การเจริญอินทรีย์
เหตุการณ์
พระผู้มีพระภาคประทับทรงแสดงธรรมแก่พระอานท์และอุตตรมาณพ เรื่องการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า

การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจขึ้น ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจเกิดขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุก็ดี เพราะได้ยินเสียงด้วยโสตก็ดี เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะก็ดี เพราะลิ้มรสด้วยชิวหาก็ดี เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายก็ดี เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนก็ดี 

ย่อมรู้ชัดว่าเราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้ว สิ่งนั้น เป็นสังขตะ หยาบอาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีตกคือ อุเบกขา จึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจนั้น อุเบกขาจึงดำรงมั่น

ภิกษุรูปใดดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ลำบาก นี้เรียกว่าการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ

โดยพระพุทธองค์เปรียบความเร็ว ความไม่ลำบากของการดับความชอบใจ ไม่ชอบใจ เช่นกับการกระพริบตา การดีดนิ้วมือ หยาดน้ำที่กลิ้งไปบนใบบัว การถ่มน้ำลาย การเหยียดแขน-คู้แขน การระเหยของหยดน้ำที่หยดลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัด

การเจริญอินทรีย์ในพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจขึ้น ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจเกิดขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุก็ดี เพราะได้ยินเสียงด้วยโสตก็ดี เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะก็ดี เพราะลิ้มรสด้วยชิวหาก็ดี เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายก็ดี เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนก็ดี 

ย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น 

นี้ชื่อว่าพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่

การเจริญอินทรีย์ของพระอริยะเจ้า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจขึ้น ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจเกิดขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุก็ดี เพราะได้ยินเสียงด้วยโสตก็ดี เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะก็ดี เพราะลิ้มรสด้วยชิวหาก็ดี เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายก็ดี เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนก็ดี 

ถ้าหวังจะสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังจะสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังจะสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังจะสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังจะวางเฉย เว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสอง อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้

นี้ชื่อว่าพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว

 

 

อ่าน อินทริยภาวนาสูตร

อ้างอิง
อินทริยภาวนาสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๘๕๓-๘๖๕ หน้าที่ ๔๐๘-๔๑๒
ชุดที่
ลำดับที่
13

สถานการณ์

การปฏิบัติธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม