Main navigation

โกฏฐิกสูตร

ว่าด้วย
เครื่องเกาะเกี่ยว
เหตุการณ์
พระมหาโกฏฐิถามพระสารีบุตรถึงเครื่องเกาะเกี่ยวของ จักษุ-รูป หู-เสียง จมูก-กลิ่น กาย-โผฏฐัพพะ ใจ-ธรรมารมณ์

ท่านพระสารีบุตรสนทนาธรรมกับท่านพระมหาโกฏฐิกะว่า

จักษุไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปก็ไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุ แต่ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในจักษุและรูปนั้น   

หูไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของเสียง เสียงก็ไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของหู แต่ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียงเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในหูและเสียงนั้น   

จมูกไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของกลิ่น กลิ่นก็ไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจมูก แต่ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่นเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในจมูกและกลิ่นนั้น

ลิ้นไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรส รสก็ไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของลิ้น แต่ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นกับรสเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในลิ้นและรสนั้น  

กายไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะก็ไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของกาย แต่ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในกายและโผฏฐัพพะนั้น          

ใจไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจ แต่ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในใจและธรรมารมณ์นั้น

ถ้าจักษุจักเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป หรือรูปจักเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุ

หูเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของเสียง เสียงเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของหู

จมูกเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของกลิ่น กลิ่นเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจมูก

ลิ้นเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรส รสเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของลิ้น

กายเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของกาย

ใจเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจ

การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ย่อมไม่ปรากฏ

แต่เพราะจักษุไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปก็ไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุ

หูไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของเสียง เสียงก็ไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของหู

จมูกไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของกลิ่น กลิ่นก็ไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจมูก

ลิ้นไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรส รสก็ไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของลิ้น

กายไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะก็ไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของกาย

ใจไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่ได้เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจ

ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ-รูป หู-เสียง จมูก-กลิ่น กาย-โผฏฐัพพะ ใจ-ธรรมารมณ์ เป็นเครื่องเกาะเกี่ยว เพราะฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ

แล้วกล่าวต่อไปว่า

พระเนตร พระโสต พระนาสิก พระชิวหา พระกาย และพระมนัสของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระองค์ก็ทรงเห็นรูปด้วยพระเนตร ทรงฟังเสียงด้วยพระโสต ทรงสูดกลิ่นด้วยพระนาสิก ทรงลิ้มรสด้วยพระชิวหา ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยพระกาย และทรงรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยพระมนัส แต่พระองค์ไม่มีความพอใจรักใคร่เลย พระองค์ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว

 

 

อ่าน โกฏฐิกสูตร

 

อ้างอิง
โกฏฐิกสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ ข้อที่ ๒๙๕-๒๙๘ หน้า ๑๘๓-๑๘๕
ลำดับที่
23

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ