Main navigation
ธาตุ
Share:

(๑) ธาตุนั้นคือความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง

ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

(๒) ชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปธาตุ แล้วไม่ดำรงอยู่ในอรูปธาตุ น้อมไปในนิโรธ ชนเหล่านั้นเป็นผู้ละมัจจุเสียได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้หาอาสวะมิได้ ถูกต้องอมตธาตุอันหาอุปธิมิได้ด้วยนามกาย แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งการสละคืนอุปธิ ย่อมแสดงบทอันไม่มีความโศก ปราศจากธุลี

(๓) ธาตุ ๖ อย่าง

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)
๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
๕. อากาศธาตุ (ธาตุอากาศ ช่องว่างมีในกาย)
๖. วิญญาณธาตุ (ธาตุวิญญาณ ความรู้อะไรได้)

(๔)  อกุศลธาตุ ๓ อย่าง
๑. กามธาตุ (ธาตุคือกาม)
๒. พยาปาทธาตุ (ธาตุคือความพยาบาท)
๓. วิหิงสาธาตุ (ธาตุคือความเบียดเบียน)

กุศลธาตุ ๓ อย่าง
๑. เนกขัมมธาตุ (ธาตุคือความออกจากกาม)
๒. อัพยาปาทธาตุ (ธาตุคือความไม่พยาบาท)
๓. อวิหิงสาธาตุ (ธาตุคือความไม่เบียดเบียน)

ธาตุอีก ๓ อย่าง
๑. กามธาตุ​ (ธาตุคือกาม)
๒. รูปธาตุ (ธาตุคือรูป)
๓. อรูปธาตุ (ธาตุคือสิ่งที่ไม่มีรูป)

ธาตุอีก ๓ อย่าง
๑. รูปธาตุ (ธาตุคือรูป)
๒. อรูปธาตุ (ธาตุคือสิ่งที่ไม่มีรูป)
๓. นิโรธธาตุ (ธาตุคือความดับทุกข์)

ธาตุอีก ๓ อย่าง
๑. หีนธาตุ (ธาตุอย่างเลว)
๒. มัชฌิมธาตุ (ธาตุอย่างกลาง)
๓. ปณีตธาตุ (ธาตุอย่างประณีต)

(๕) นิพพานธาตุ ๒ ประการ คือ

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑


ธาตุที่พึงสลัดออก พรากออก

(๖) เมตตาเจโตวิมุติ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งพยาบาท (พยาปาทธาตุ)

กรุณาเจโตวิมุติ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งวิหิงสา (วิหิงสาธาตุ)

มุทิตาเจโตวิมุตินี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งอรติ

อุเบกขาเจโตวิมุตินี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งราคะ (กามธาตุ)

(๗) ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการนี้ คือ

...เมื่อจิตพรากออกดีแล้วจากกามทั้งหลาย อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะกามเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น

นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งกามทั้งหลาย

...เมื่อจิตพรากออกดีแล้วจากพยาบาท อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น

นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งพยาบาท

...เมื่อจิตพรากออกดีแล้วจากวิหิงสา อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใดย่อมเกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น

นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งวิหิงสา

...เมื่อจิตพรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะรูปเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น

นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งรูปทั้งหลาย

...เมื่อจิตพรากออกดีแล้วจากสักกายะ อาสวะทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะสักกายะเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น

นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งสักกายะ

ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการนี้แล


(๘)  ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน

จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ

โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ

ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ

ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ

กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ

มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ

นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ


(๙)  ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ

ก็ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน

จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ
โสตสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตธาตุ
ฆานสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานธาตุ
ชิวหาสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาธาตุ
โผฏฐัพพะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายธาตุ
มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ

ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุอย่างนี้แล


(๑๐)  ความต่างแห่งธาตุมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ คือ

จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ
จักขุธาตุไม่บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส

โสตสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตธาตุ
โสตธาตุไม่บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตสัมผัส

ฆานสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานธาตุ
ฆานธาตุไม่บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานสัมผัส

ชิวหาสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาธาตุ
ชิวหาสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาธาตุ

โผฏฐัพพะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายธาตุ
โผฏฐัพพะธาตุไม่บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพะสัมผัส

มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ
มโนธาตุไม่บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส

ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งธาตุไม่บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะอย่างนี้แล


(๑๑) ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ

จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ
จักขุสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ

มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ
มโนสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส

ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ อย่างนี้แล

(๑๒) ความต่างแห่งผัสสะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ

คือ จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ
จักขุสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส
จักขุสัมผัสไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสสชาเวทนา
จักขุธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ

มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ
มโนสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส
มโนสัมผัสไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัสสชาเวทนา
มโนธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส

ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะอย่างนี้แล


(๑๓)  ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน

รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ


(๑๔)  ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะความต่างแห่งธาตุ

ก็ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ

ความต่างแห่งสังกัปปะ (ความดำริ) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา

ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ

ความต่างแห่งปริฬาหะ (ความเร่าร้อน) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ

ความต่างแห่งปริเยสนา (การแสวงหา) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ

ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน

รูปสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ
รูปสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัญญา
รูปฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ
รูปปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปฉันทะ
รูปปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริฬาหะ

สัททสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททธาตุ
สัททสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททสัญญา
สัททฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททสังกัปปะ
สัททปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททฉันทะ
สัททปริเยสนาบังเกิด ขึ้นเพราะอาศัยสัททปริฬาหะ

คันธสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธธาตุ
คันธสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธสัญญา
คันธฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธสังกัปปะ
คันธปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธฉันทะ
คันธปริเยสนาบังเกิด ขึ้นเพราะอาศัยคันธปริฬาหะ

รสสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสธาตุ
รสสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสสัญญา
รสฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสสังกัปปะ
รสปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสฉันทะ
รสปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสปริฬาหะ

โผฏฐัพพสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพธาตุ
โผฏฐัพพสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพสัญญา
โผฏฐัพพฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพสังกัปปะ
โผฏฐัพพปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพฉันทะ
โผฏฐัพพปริเยสนาบังเกิด ขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพปริฬาหะ

ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมธาตุ
ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา
ธรรมฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสังกัปปะ
ธรรมปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมฉันทะ
ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ


(๑๕) ความต่างแห่งธาตุมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา

ความต่างแห่งปริฬาหะ (ความเร่าร้อน) มิไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา (การแสวงหา)

ความต่างแห่งฉันทะมิไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ

ความต่างแห่งสังกัปปะ (ความดำริ) มิไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ

ความต่างแห่งสัญญามิไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ

ความต่างแห่งธาตุมิไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา

ความต่างแห่งธาตุมิไม่ได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญาเป็นไฉน

รูปสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ
รูปสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัญญา
รูปฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ
รูปปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปฉันทะ
รูปปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริฬาหะ

สัททสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททธาตุ ฯลฯ
ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ

คันธสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธธาตุ ฯลฯ
ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ

รสสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสธาตุ ฯลฯ
ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ

โผฏฐัพพสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ
ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ

ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมธาตุ
ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา
ธรรมฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสังกัปปะ
ธรรมปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมฉันทะ
ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ

ธรรมปริฬาหะมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริเยสนา

ธรรมฉันทะมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ

ธรรมสังกัปปะมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมฉันทะ

ธรรมสัญญามิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสังกัปปะ

ธรรมธาตุมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา

ความต่างแห่งธาตุมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญาอย่างนี้แล


(๑๖) ความต่างแห่งลาภบังเกิดขึ้นเพราะความต่างแห่งธาตุ

ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ

ความต่างแห่งสังกัปปะ (ความดำริ) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา

ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ

ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ

ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา

ความต่างแห่งปริฬาหะ (ความเร่าร้อน) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ

ความต่างแห่งปริเยสนา (การแสวงหา) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ

ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา

ก็ความต่างแห่งลาภบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน

รูปสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ
รูปสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัญญา
รูปผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ
รูปสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัมผัส
รูปฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัมผัสสชาเวทนา
รูปปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปฉันทะ
รูปปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริฬาหะ
รูปลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริเยสนา

สัททสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททธาตุ
สัททสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททสัญญา
สัททผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททสังกัปปะ
สัททสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททสัมผัส
สัททฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททสัมผัสสชาเวทนา
สัททปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททฉันทะ
สัททปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททปริฬาหะ
สัททลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททปริเยสนา

คันธสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธธาตุ
คันธสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธสัญญา
คันธผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธสังกัปปะ
คันธสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธสัมผัส
คันธฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธสัมผัสสชาเวทนา
คันธปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธฉันทะ
คันธปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธปริฬาหะ
คันธลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธปริเยสนา

รสสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสธาตุ
รสสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสสัญญา
รสผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสสังกัปปะ
รสสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสสัมผัส
รสฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสสัมผัสสชาเวทนา
รสปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสฉันทะ
รสปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสปริฬาหะ
รสลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสปริเยสนา

โผฏฐัพพสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพธาตุ
โผฏฐัพพสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพสัญญา
โผฏฐัพพผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพสังกัปปะ
โผฏฐัพพสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพสัมผัส
โผฏฐัพพฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพสัมผัสสชาเวทนา
โผฏฐัพพปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพฉันทะ
โผฏฐัพพปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพปริฬาหะ
โผฏฐัพพลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพปริเยสนา

ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมธาตุ
ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา
ธรรมสัมผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสังกัปปะ
ธรรมสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัมผัสสะ
ธรรมฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัมผัสสชาเวทนา
ธรรมปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมฉันทะ
ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ
ธรรมลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริเยสนา

ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
อย่างนี้แล


(๑๗) ความต่างแห่งธาตุมิได้บังเกิดขึ้นเพราะความต่างแห่งลาภ

ความต่างแห่งปริเยสนามิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภะ

ความต่างแห่งปริฬาหะมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา

ความต่างแห่งฉันทะมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ

ความต่างแห่งเวทนามิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ

ความต่างแห่งผัสสะมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา

ความต่างแห่งสังกัปปะมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ

ความต่างแห่งสัญญามิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ

ความต่างแห่งธาตุมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา

ความต่างแห่งธาตุมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภเป็นไฉน

รูปสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ
รูปสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัญญา
รูปผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ
รูปสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัมผัส
รูปฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัมผัสสชาเวทนา
รูปปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปฉันทะ
รูปปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริฬาหะ
รูปลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริเยสนา

สัททสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททธาตุ
สัททสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททสัญญา ฯลฯ
สัททปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททปริฬาหะ
สัททลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัททปริเยสนา

คันธสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธธาตุ
คันธสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธสัญญา ฯลฯ
คันธปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธปริฬาหะ
คันธลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยคันธปริเยสนา

รสสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสธาตุ
รสสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสสัญญา ฯลฯ
รสปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสปริฬาหะ
รสลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรสปริเยสนา

โผฏฐัพพสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพธาตุ
โผฏฐัพพสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ
โผฏฐัพพปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพปริฬาหะ
โผฏฐัพพลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโผฏฐัพพปริเยสนา

ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมธาตุ
ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา ฯลฯ
ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ
ธรรมลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริเยสนา

ธรรมปริเยสนามิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมลาภะ

ธรรมปริฬาหะมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริเยสนา

ธรรมฉันทะมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ

ธรรมสัมผัสสชาเวทนามิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมฉันทะ

ธรรมสัมผัสสะมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัมผัสสชาเวทนา

ธรรมสังกัปปะมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัมผัสสะ

ธรรมสัญญามิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสังกัปปะ

ธรรมธาตุมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา

ความต่างแห่งธาตุมิได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญาอย่างนี้แล


(๑๘) ธาตุที่เลว ปานกลาง ประณีต

สัญญา บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ
ทิฐิ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ
วิตก บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ 

ธาตุคืออวิชชานี้ เป็นธาตุใหญ่

สัญญาที่เลว ทิฐิที่เลว วิตกที่เลว เจตนาที่เลว ความปรารถนาที่เลว ความตั้งใจที่เลว บุคคลที่เลว วาจาที่เลว บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุที่เลว บุคคลที่เลวนั้น ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้นซึ่งธรรมที่เลว เรากล่าวว่า อุปบัติของบุคคลที่เลวนั้นย่อมเลว

สัญญาที่ปานกลาง ทิฐิที่ปานกลาง วิตกที่ปานกลาง เจตนาที่ปานกลาง ความปรารถนาที่ปานกลาง ความตั้งใจที่ปานกลาง บุคคลที่ปานกลาง วาจาที่ปานกลาง บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุที่ปานกลาง บุคคลที่ปานกลางนั้น ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น ซึ่งธรรมที่ปานกลาง เรากล่าวว่า อุปบัติของบุคคลที่ปานกลางนั้น เป็นปานกลาง

สัญญาที่ประณีต ทิฐิที่ประณีต วิตกที่ประณีต เจตนาที่ประณีต ความปรารถนาที่ประณีต ความตั้งใจที่ประณีต บุคคลที่ประณีต วาจาที่ประณีต บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุที่ประณีต บุคคลที่ประณีตนั้น ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น ซึ่งธรรมที่ประณีต เรากล่าวว่า อุปบัติของบุคคลที่ประณีตนั้น ย่อมประณีต


(๑๙) บุคคลย่อมสมาคมกันโดยธาตุ

สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้า ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือ

สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้า ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว

สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้า ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี

แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้วโดยธาตุเทียว

แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้ากัน จักสมาคมกันโดยธาตุเทียว

แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว

(๒๐) พวกเธอเห็นสารีบุตรกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีปัญญามาก

พวกเธอเห็นมหาโมคคัลลานะกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีฤทธิ์มาก

พวกเธอเห็นมหากัสสปกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นธุตวาท

พวกเธอเห็นอนุรุทธ กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผู้มีทิพยจักษุ

พวกเธอเห็นปุณณมันตานีบุตรกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นธรรมกถึก

พวกเธอเห็นอุบาลีกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผู้ทรงวินัย

พวกเธอเห็นอานนท์ กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพหูสูต

พวกเธอเห็นเทวทัตต์กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีความปรารถนาลามก

สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว

(๒๑) คูถกับคูถย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ มูตรกับมูตรย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ เขฬะกับเขฬะย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ บุพโพกับบุพโพย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ โลหิตกับโลหิตย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นแล ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว

น้ำนมสดกับน้ำนมสดย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ น้ำมันกับน้ำมันย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ เนยใสกับเนยใสย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ น้ำผึ้งกับน้ำผึ้งย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ น้ำอ้อยกับน้ำอ้อยย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นแล ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว

(๒๒) แม้ในอดีตกาล ในอนาคตกาล และในปัจจุบัน สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือ

สัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา

สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ

สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ

สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย

สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน

สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม

สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม

สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา

สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีหิริ

สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ

สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก

สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร

สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง

สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา

(๒๓) พวกทำปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำปาณาติบาต

พวกทำอทินนาทาน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำอทินนาทาน

พวกทำกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำกาเมสุมิจฉาจาร

พวกมุสาวาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมุสาวาท

พวกดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

พวกเว้นขาดจากปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจากปาณาติบาต

พวกเว้นขาดจากอทินนาทาน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจากอทินนาทาน

พวกเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร

พวกเว้นขาดจากมุสาวาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจากมุสาวาท

พวกเว้นขาดจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน กับพวกเว้นขาดจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่แห่งความประมาท

(๒๔) พวกมิจฉาทิฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาทิฐิ

พวกมิจฉาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสังกัปปะ

พวกมิจฉาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวาจา

พวกมิจฉากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉากัมมันตะ

พวกมิจฉาอาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาอาชีวะ

พวกมิจฉาวายามะ ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวายามะ

พวกมิจฉาสติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสติ

พวกมิจฉาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสมาธิ

พวกมิจฉาญาณะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาญาณะ

พวกมิจฉาวิมุติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวิมุติ

พวกสัมมาทิฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาทิฐิ

พวกสัมมาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาสังกัปปะ

พวกสัมมาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาวาจา

พวกสัมมากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมากัมมันตะ

พวกสัมมาอาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาอาชีวะ

พวกสัมมาวายามะย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาวายามะ

พวกสัมมาสติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาสติ

พวกสัมมาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาสมาธิ

พวกสัมมาญาณะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาญาณะ

พวกสัมมาวิมุติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาวิมุติ


ธาตุภาวนา

ธาตุวิภังคภาวนา

(๒๕) ธาตุที่บุคคลพึงบรรลุเป็นสมาบัติ

ธาตุเหล่านี้มี ๗ ประการ คือ

อาภาธาตุ
สุภาธาตุ
อากาสานัญจายตนธาตุ
วิญญาณัญจายตนธาตุ
อากิญจัญญายตนธาตุ
เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ
สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ

อาภาธาตุอาศัยความมืดจึงปรากฏได้
สุภาธาตุอาศัยความไม่งามจึงปรากฏได้
อากาสานัญจายตนธาตุอาศัยรูปจึงปรากฏได้
วิญญาณัญจายตนธาตุอาศัยอากาสานัญจายตนะจึงปรากฏได้
อากิญจัญญายตนธาตุอาศัยวิญญาณัญจายตนะจึงปรากฏได้
เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุอาศัยอากิญจัญญายตนะจึงปรากฏได้
สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุอาศัยนิโรธจึงปรากฏได้

ธาตุเหล่านี้แต่ละอย่างบุคคลพึงบรรลุเป็นสมาบัติอย่างไร

อาภาธาตุ สุภาธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ ธาตุเหล่านี้แต่ละอย่างบุคคลพึงบรรลุเป็นสัญญาสมาบัติ

เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ บุคคลพึงบรรลุเป็นสังขาราวเสสสมาบัติ

สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ บุคคลพึงบรรลุเป็นนิโรธสมาบัติ


(๒๖) ผู้ฉลาดในธาตุ

ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ด้วยเหตุเท่าไร

ธาตุนี้มี ๑๘ อย่าง ได้แก่

ธาตุคือจักษุ
ธาตุคือรูป
ธาตุคือจักษุวิญญาณ

ธาตุคือโสต
ธาตุคือเสียง
ธาตุคือโสตวิญญาณ

ธาตุคือฆานะ
ธาตุคือกลิ่น
ธาตุคือฆานวิญญาณ

ธาตุคือชิวหา
ธาตุคือรส
ธาตุคือชิวหาวิญญาณ

ธาตุคือกาย
ธาตุคือโผฏฐัพพะ
ธาตุคือกายวิญญาณ

ธาตุคือมโน
ธาตุคือธรรมารมณ์
ธาตุคือมโนวิญญาณ

เหล่านี้แล ธาตุ ๑๘ อย่าง ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ปริยายอื่นที่ควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ธุาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่

ธาตุคือดิน
ธาตุคือน้ำ
ธาตุคือไฟ
ธาตุคือลม
ธาตุคืออากาศ
ธาตุคือวิญญาณ

เหล่านี้แล ธาตุ ๖ อย่าง

ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ปริยายอื่นที่ควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่

ธาตุคือสุข
ธาตุคือทุกข์
ธาตุคือโสมนัส
ธาตุคือโทมนัส
ธาตุคืออุเบกขา
ธาตุคืออวิชชา

เหล่านี้แล ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ปริยายอื่นที่ควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่

ธาตุคือกาม
ธาตุคือเนกขัมมะ
ธาตุคือพยาบาท
ธาตุคือความไม่พยาบาท
ธาตุคือความเบียดเบียน
ธาตุคือความไม่เบียดเบียน

เหล่านี้แล ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ก็ปริยายแม้อื่นที่ควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ธาตุนี้มี ๓ อย่าง ได้แก่

ธาตุคือกาม
ธาตุคือรูป
ธาตุคืออรูป

เหล่านี้แล ธาตุ ๓ อย่าง แม้ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ก็ปริยายแม้อื่นที่ควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ธาตุนี้มี ๒ อย่าง คือ สังขตธาตุ อสังขตธาตุ

เหล่านี้แล ธาตุ ๒ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ


ธาตุนิยาม

(๒๗) ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง

สุขธาตุ

ความสบายกาย ความสุขกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข เกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขเกิดแต่กายสัมผัส

ทุกขธาตุ

ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ เกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส

โสมนัสสธาตุ

ความสบายใจ ความสุขใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขเกิดแต่เจโตสัมผัส

โทมนัสสธาตุ

ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์เกิดแต่เจโตสัมผัส

อุเบกขาธาตุ

ความสบายใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ ไม่สุขเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ไม่สุขเกิดแต่เจโตสัมผัส

อวิชชาธาตุ

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล


ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง

กามธาตุ

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ อันประกอบด้วยกาม ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า กามธาตุ ชั้นต่ำมีอเวจีนรกเป็นที่สุด ชั้นสูงมีเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างนี้ นับเนื่องอยู่ในระหว่างนี้

พยาปาทธาตุ

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ อันประกอบด้วยพยาบาท ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ อีกนัยหนึ่ง ความที่จิตอาฆาต ในอาฆาตวัตถุ ๑๐ ความอาฆาตมีกำลัง ความกระทบ ความแค้น ความโกรธ ความกำเริบ ความกำเริบหนัก ความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้ายยิ่ง ความคิดประทุษร้ายหนัก ความที่จิตพยาบาท ความมีใจประทุษร้ายยิ่ง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ สภาพที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย สภาพที่คิดประทุษร้าย ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท สภาพที่พยาบาท ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย อาการที่พูดไม่ยั้ง ความที่จิตไม่แช่มชื่น

วิหิงสาธาตุ

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ อันประกอบด้วยวิหิงสา ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตราหรือเชือก ความข่มเหง กิริยาที่ข่มเหง ความเบียดเบียน กิริยาที่เบียดเบียน ความขึ้งเคียด ความเคียดแค้น ความเข้าไปเบียดเบียนผู้อื่น เห็นปานนี้

เนกขัมมธาตุ

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ อันประกอบด้วยเนกขัมมะ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า เนกขัมมธาตุ กุศลธรรมแม้ทั้งหมด

อัพยาปาทธาตุ

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ อันประกอบด้วยความไม่พยาบาท ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ ความมีไมตรี กิริยาที่มีไมตรี สภาพที่มีไมตรี ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ

อวิหิงสาธาตุ

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ อันประกอบด้วยอวิหิงสา ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์สัมมาสังกัปปะ  ความกรุณา กิริยาที่กรุณา สภาพที่กรุณา ในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ


(๒๘) ธาตุ ๑๘

จักขุธาตุ เป็นไฉน

จักษุใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ) นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า จักขุธาตุ

รูปธาตุ เป็นไฉน

รูปใดเป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ) นี้ชื่อว่ารูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่ารูปธาตุ

จักขุวิญญาณธาตุ เป็นไฉน

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยจักษุและรูปเกิดขึ้น นี้เรียกว่า จักขุวิญญาณธาตุ

โสตธาตุ เป็นไฉน

โสตะใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ)  นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า โสตธาตุ

สัททธาตุ เป็นไฉน

สัททะ (เสียง) ใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ)  นี้ชื่อสัททธาตุบ้าง นี้เรียกว่า สัททธาตุ

โสตวิญญาณธาตุ เป็นไฉน

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ โสตวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยโสตะ (หู) และเสียงเกิดขึ้น นี้เรียกว่า โสตวิญญาณธาตุ

ฆานธาตุ เป็นไฉน

ฆานะ (จมูก) ใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ)  นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า ฆานธาตุ

คันธธาตุ เป็นไฉน

คันธะ (กลิ่น) ใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ)  นี้ชื่อว่าคันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธธาตุ

ฆานวิญญาณธาตุ เป็นไฉน

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ฆานวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ฆานวิญญาณธาตุ

ชิวหาธาตุ เป็นไฉน

ชิวหา (ลิ้น) ใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ)  นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้างนี้เรียกว่า ชิวหาธาตุ

รสธาตุ เป็นไฉน

รสใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ) นี้ชื่อว่ารสธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รสธาตุ

ชิวหาวิญญาณธาตุ เป็นไฉน

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ชิวหาวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยชิวหาและรสเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชิวหาวิญญาณธาตุ

กายธาตุ เป็นไฉน

กายใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า กายธาตุ

โผฏฐัพพธาตุ เป็นไฉน

ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุ

กายวิญญาณธาตุ เป็นไฉน

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดขึ้นนี้เรียกว่า กายวิญญาณธาตุ

มโนธาตุ เป็นไฉน

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งจักขุวิญญาณธาตุ

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่เหมาะสมกันเกิดขึ้น เกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งโสตวิญญาณธาตุ

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่เหมาะสมกันเกิดขึ้น เกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งฆานวิญญาณธาตุ

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่เหมาะสมกันเกิดขึ้น เกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งชิวหาวิญญาณธาตุ

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งกายวิญญาณธาตุ หรือความพิจารณาอารมณ์ทีแรกในธรรมทั้งปวง

นี้เรียกว่า มโนธาตุ

ธัมมธาตุ เป็นไฉน

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง

รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ เป็นไฉน

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ

ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง (อสังขตธาตุ) เป็นไฉน

สภาวธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งราคะ เป็นที่สิ้นไปแห่งโทสะและเป็นที่สิ้นไปแห่งโมหะ นี้เรียกว่า ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง

นี้เรียกว่า ธัมมธาตุ

มโนวิญญาณธาตุ เป็นไฉน

มโนธาตุเกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งจักขุวิญญาณธาตุ

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของมโนธาตุ

มโนธาตุเกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งโสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ กายวิญญาณธาตุ

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแม้แห่งมโนธาตุ

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยภวังคจิตและธรรมารมณ์เกิดขึ้น

นี้เรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ

 

 

อ้างอิง: 
(๑) อุปปาทสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ ข้อที่ ๕๗๖
(๒) ธาตุสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ ข้อที่ ๒๒๙
(๓) ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  ข้อ ๓๑๙
(๔) สังคีติสูตร ธรรมหมวด ๓ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ ข้อที่ ๒๒๘ หน้า ๑๖๕
(๕) ธาตุสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ ข้อที่ ๒๒๒ หน้า ๑๙๒
(๖) เมตตาสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๒๘๔
(๗) นิสสารณียสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๒๐๐
(๘) ธาตุสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๓๔ หน้า ๑๓๗
(๙) สัมผัสสสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๓๖ หน้า ๑๓๘
(๑๐) โนสัมผัสสสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๓๘ หน้า ๑๓๘
(๑๑) เวทนาสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๔๐ หน้า
(๑๒) โนเวทนาสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๔๒ หน้า
(๑๓) พาหิรธาตุสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๔๓ หน้า ๑๔๐
(๑๔) สัญญาสูตร  พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๔๔-๓๔๕ หน้า ๑๔๑
(๑๕) โนสัญญาสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๔๖-๓๔๗ หน้า ๑๔๑
(๑๖) ผัสสสูตร  พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๔๘-๓๔๙ หน้า ๑๔๕
(๑๗) โนผัสสสูตร  พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๕๐-๓๕๑ หน้า ๑๔๕
(๑๘)  คิญชกาวสถสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๖๑-๓๖๓ หน้า ๑๕๐-๑๕๑
(๑๙) หีนาธิมุตติสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๖๔ หน้า
(๒๐) จังกมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๖๕-๓๖๗ หน้า
(๒๑) สตาปารัทธสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๖๘-๓๗๒ หน้า
(๒๒) อัสสัทธมูลกสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๗๓-๓๗๔ หน้า
(๒๓) ปัญจสิกขาปทสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๙๓-๓๙๔ หน้า
(๒๔) ทสังคิกสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๔๐๑-๔๐๒ หน้า
(๒๕) สัตติมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๓๕๒-๓๕๔ หน้าที่ ๑๔๗
(๒๖)  พหุธาตุกสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๒๓๗-๒๔๒ หน้า ๑๓๔-๑๓๕
(๒๗) ธาตุวิภังค์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๑๒๑-๑๒๒
(๒๘) อภิธรรมภาชนีย์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๑๒๕-๑๓๐

 
 


 

คำต่อไป