Main navigation

ยุคนัทธกถา

เหตุการณ์
พระอานนท์สอนภิกษุทั้งหลาย ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี พระอานนท์พยากรณ์อรหัตในสำนักด้วยมรรค ๔ ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง

การพยากรณ์อรหัตด้วยมรรค ๔ ทั้งหมด หรือมรรคใดมรรคหนึ่งในสำนักพระอานนท์

เจริญ วิปัสสนา อันมี สมถะ เป็นเบื้องต้น มรรคย่อมเกิด
เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

เจริญ สมถะ มี วิปัสสนา เป็นเบื้องต้น มรรคย่อมเกิด
เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

เจริญ สมถะ และ วิปัสสนา คู่กันไป มรรคย่อมเกิด เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

มีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูก อุทธัจจะ กั้นไว้ จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิด เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่า พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี ๔ คือ

ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑

ด้วยอรรถว่า อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑

ด้วยอรรถว่า นำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกัน ๑

ด้วยอรรถว่า เป็นที่เสพ ๑

มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคย่อมเกิด

ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างไร

ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค

ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ส่วนหยาบ ๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค

ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์  ส่วนละเอียด ๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค

ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตมรรค ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

 

อ่าน ยุคนันธกถา

อ้างอิง
ยุคนัทธกถา พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๕๓๔-๕๔๓ หน้า ๒๔๕-๒๕๔
ชุดที่
ลำดับที่
25

สถานการณ์

การปฏิบัติธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ