Main navigation

ธรรมทายาทสูตร

ว่าด้วย
ทายาทแห่งธรรม
เหตุการณ์
พระพุทธเจ้าทรงกล่าวถึงธรรมทายาท พระสารีบุตรยกตัวอย่างการเป็นธรรมทายาทที่ควรสรรเสริญสามประการแก่ภิกษุทั้งหลาย

ธรรมทายาทที่ควรสรรเสริญสามประการ

หนึ่ง ภิกษุที่เป็นธรรมทายาทมีความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา เลี้ยงง่าย ปรารภความเพียร

พระพุทธเจ้าได้ยกตัวอย่างสรรเสริญภิกษุที่ทิ้งบิณฑบาตของพระพุทธเจ้าที่ทรงฉันเสร็จแล้วถึงแม้ตนจะหิวและได้รับคำอนุญาติให้สามารถฉันบิณบาตเพื่อบรรเทาความหิวได้ เพราะการทิ้งบิณฑบาตนั้นเป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา เลี้ยงง่าย ปรารภความเพียรแก่ภิกษุนั้น

(การทิ้งของ - ทิ้งในที่ที่ปราศจากของสดเขียว หรือเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์)

สอง ภิกษุที่เป็นทายาทแห่งธรรมย่อมศึกษาความสงัดตามพระศาสดา ละธรรมที่พระศาสดาตรัสให้ละ และไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ทอดธุระในความท้อถอย เป็นหัวหน้าในความสงัด ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุสามประการ

เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม

พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายละธรรมเหล่านั้น

สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ทอดธุระในความท้อถอย เป็นหัวหน้าในความสงัด

อามิสทายาทไม่ศึกษาความสงัดตามพระศาสดา ไม่ละธรรมที่พระศาสดาตรัสให้ละ เป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด ถูกติเตียนได้ ด้วยเหตุสามประการ -

เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว พระสาวกทั้งหลายไม่ศึกษาความสงัดตาม

พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมเหล่านั้น

สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด

ธรรมทายาทย่อมละธรรมอันลามกทั้งหลายด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือ อริยมรรคมีองค์ ๘

ธรรมอันลามกทั้งหลาย ได้แก่

โลภะและโทสะ
ความโกรธและความผูกโกรธไว้
ความลบหลู่และความตีเสมอ
ความริษยาและความตระหนี่
ความเจ้าเล่ห์และความโอ้อวด
ความหัวดื้อและความแข่งดี
ความถือตัวและความดูหมิ่น
ความเมาและความเลินเล่อ

 

อ่าน ธรรมทายาทสูตร

 

อ้างอิง
ธรรมทายาทสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๒๐-๒๖ หน้า ๑๗-๒๒
ลำดับที่
8

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ